เมนู

ตถาคตเจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดของโลกพร้อมทั้ง
เทวดา ฯ ล ฯ ธรรมชาตินั้นทั้งหมดตถาคตตรัสรู้แล้ว เหตุนั้น จึงได้
พระนามว่า ตถาคต ดังนี้ พึงทราบเนื้อความแห่งคำนั้นแม้อย่างนี้. อนึ่ง
แม้ข้อนี้ก็เป็นเพียงมุขในการแสดงภาวะที่พระตถาคตมีพระนามว่าตถาคต
เท่านั้น. ที่จริง พระตถาคตเท่านั้น จะพึงพรรณนาภาวะที่พระตถาคตมี
พระนามว่า ตถาคต โดยอาการทั้งปวงได้.

อธิบายคำ ปุจฉา


คำว่า กตมญฺเจตํ ภิกฺขเว เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาค
เจ้า
ตรัสถามข้อที่ปุถุชนเมื่อกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด
ซึ่งมีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล นั้นว่าเป็นไฉน ?
ชื่อว่าคำถามในพระบาลีนั้น มี 5 อย่าง คือ
1. อทิฏฐโชตนาปุจฉา คำถามเพื่อส่องลักษณะที่ยังไม่เห็นให้
กระจ่าง
2. ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา คำถามเทียบเคียงลักษณะที่เห็นแล้ว
3. วิมติเฉทนาปุจฉา คำถามเพื่อตัดความสงสัย
4. อนุมติปุจฉา คำถามเพื่อการรับรอง
5. กเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามเพื่อประสงค์จะตอบเอง
ในบรรดาคำถามเหล่านั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตาม
ปกติลักษณะที่ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้พิจารณา ยังไม่ได้ไตร่ตรอง
ยังไม่แจ่มแจ้ง ยังไม่ได้อธิบาย บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้ เพื่อเห็น
เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่ออธิบายลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐ-

โชตนาปุจฉา.
ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตามปกติลักษณะที่รู้แล้ว
เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว ไตร่ตรองแล้ว แจ่มแจ้งแล้ว อธิบายแล้ว
บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อต้องการจะเทียบเคียงลักษณะนั้นกับบัณฑิตเหล่า
อื่น นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา.
วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตามปกติบุคคลเป็นผู้มักสงสัย มัก
ระแวง เกิดความแคลงใจว่า อย่างนี้หนอ ? ไม่ใช่หนอ ? อะไรหนอ ?
อย่างไรหนอ ? บุคคลนั้นย่อมถามปัญหาเพื่อต้องการตัดความสงสัย นี้
ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.
อนุมติปุจฉา เป็นไฉน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหาเพื่อ
การรับรองของภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน ? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ก็รูป
ที่ไม่เที่ยงนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุข เป็นทุกข์พระเจ้าข้า พึงกล่าวคำ
ทั้งหมด นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฉา.
กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ปัญหาด้วยมีพุทธประสงค์จะทรงตอบแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ปติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ สติปัฏฐาน 4 อะไรบ้าง ? ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย องค์แห่งมรรค 8 เหล่านี้ องค์แห่งมรรค 8 อะไร
บ้าง ? นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.
ในบรรดาปุจฉา 5 ประการดังพรรณนามานี้ เบื้องต้น อทิฏฐ-
โชตนาปุจฉา
ย่อมไม่มีแก่พระตถาคต เพราะธรรมอะไร ๆ ที่พระองค์
ไม่ทรงเห็นไม่มี แม้ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ก็ไม่มี เพราะไม่เกิดการประมวล

พระดำริว่า ลักษณะชื่อนี้ เราจักแสดงเทียบเคียงกับสมณพราหมณ์ผู้เป็น
บัณฑิตเหล่าอื่น ดังนี้เลย. อนึ่ง เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรง
มีความลังเลความสับสน แม้ในธรรมสักข้อเดียว พระองค์ทรงตัดความ
สงสัยทั้งปวงได้ ณ โพธิมัณฑสถานนั่นแล ฉะนั้น แม้วิมุติเฉทนาปุจฉา
ก็ไม่มีแน่นอน. แต่ปุจฉา 2 ประการนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ย่อมมีแก่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในปุจฉา 2 ประการนั้น นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตา
ปุจฉา.


วรรณนาจุลศีล


บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะทรงแก้เนื้อความ
ที่ได้ตรัสถามด้วยกเถตุกัมยตาปุจฉานั้น จึงตรัสพระบาลีอาทิว่า ปาณา-
ติปาตํ ปหาย
ดังนี้.
ในคำว่า ละปาณาติบาต. ปาณาติบาต แปลว่าทำสัตว์มีชีวิตให้
ตกล่วงไป อธิบายว่า ฆ่าสัตว์ ปลงชีพสัตว์. ก็ในคำว่า ปาณะ นี้ โดย
โวหาร ได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์. อนึ่ง เจตนาฆ่า อัน
เป็นเหตุยังความพยายามตัดรอนชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้น เป็นไปทางกายทวาร
และวจีทวาร ทางใดทางหนึ่ง ของผู้มีความสำคัญในชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์
มีชีวิต ชื่อว่าปาณาติบาต. ปาณาติบาตนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในสัตว์เล็ก
บรรดาสัตว์ที่เว้นจากคุณมีสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะ
สัตว์มีร่างกายใหญ่. เพราะเหตุไร ? เพราะต้องขวนขวายมาก. แม้เมื่อ
มีความพยายามเสมอกัน ก็มีโทษมาก เพราะมีวัตถุใหญ่. ในบรรดาสัตว์ที่มี
คุณมีมนุษย์เป็นต้น สัตว์มีคุณน้อยมีโทษน้อย สัตว์มีคุณมากมีโทษมาก.